หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล | |
---|---|
ชื่อเกิด | หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล |
เกิด | 16 มีนาคม พ.ศ. 2496[1] ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 15 กันยายน พ.ศ. 2565 (69 ปี) โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
บิดา | หม่อมราชวงศ์ชนาญวัต เทวกุล |
มารดา | นางภักดี เทวกุล ณ อยุธยา |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2527–2565 |
รางวัล | |
พระสุรัสวดี | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พ.ศ. 2529 - ช่างมันฉันไม่แคร์[2] บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พ.ศ. 2529 - ช่างมันฉันไม่แคร์ |
สุพรรณหงส์ | สุพรรณหงส์เกียรติยศ พ.ศ. 2564 |
คมชัดลึก | บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม พ.ศ. 2565 - Six Character มายาพิศวง |
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล ชื่อเล่น น้อย (16 มีนาคม พ.ศ. 2496 – 15 กันยายน พ.ศ. 2565) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ละครเวที ผู้เขียนบท และอาจารย์สอนการแสดงชาวไทย และที่มีผลงานโดดเด่นแปลกใหม่และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคนหนึ่งของประเทศไทย ทั้งยังเป็นผู้เขียนบทและอาจารย์สอนวิชากำกับการแสดงและการแสดงในระดับสากล
ประวัติ
[แก้]หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์ชนาญวัต เทวกุล (โอรสในหม่อมเจ้าสุทธาสิโนทัย เทวกุล) กับนางภักดี เทวกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สมรรคะบุตร) โดยหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพเป็นพระปนัดดา (เหลน) ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ และหม่อมใหญ่ เทวกุล ณ อยุธยา ทางหม่อมเจ้าสุธาสิโนทัย เทวกุล (พระอนุชาในหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระอัยกีใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ผู้เป็นท่านปู่
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จากนั้นเข้าศึกษาที่ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อนที่จะลาออกเพื่อมาทำงานทางด้านภาพยนตร์ในเวลาต่อมา
โดยมีผลงานเรื่องแรกคือ เพลิงพิศวาส ของ สหมงคลฟิล์ม ที่ได้สร้างชื่อให้แก่ สินจัย เปล่งพานิช และในอีก 26 ปีต่อมา หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพได้กลับมาร่วมงานกับสหมงคลฟิล์มอีกครั้งในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ชั่วฟ้าดินสลาย ผลงานกำกับภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ ได้รับรางวัลหลายเรื่อง เช่น เพลิงพิศวาส (2527), ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529), ฉันผู้ชายนะยะ (2530), นางนวล (2530), เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532), ความรักไม่มีชื่อ (2533), มหัศจรรย์แห่งรัก (2538) และ อันดากับฟ้าใส (2540)
หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565[3] ด้วยโรคมะเร็งปอด ณ โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน[4] ในวันเดียวกับ Six characters มายาพิศวง ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพกำกับ เข้าฉายเป็นวันแรก[5] โดยกำหนดสวดพระอภิธรรมตั้งแต่วันที่ 17–23 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ ศาลากลางน้ำ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[6] และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ ในวันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565 ณ เมรุด้านใต้ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[7][8]
ผลงาน
[แก้]กำกับภาพยนตร์
[แก้]- เพลิงพิศวาส (2527)
- ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529)
- ฉันผู้ชายนะยะ (2530)
- นางนวล (2530) [9]
- เผื่อใจไว้ให้กันสักหน่อย (2532)
- ความรักไม่มีชื่อ (2533)
- มหัศจรรย์แห่งรัก (2538)
- อันดากับฟ้าใส (2540)
- ชั่วฟ้าดินสลาย (2553)
- อุโมงค์ผาเมือง (2554) [10]
- จัน ดารา ปฐมบท (2555)
- จัน ดารา ปัจฉิมบท (2556)
- แผลเก่า (2557)
- แม่เบี้ย (2558)
- Six characters มายาพิศวง (2565)
ละคร
[แก้]- เทพธิดาบาร์ 21 (มินิซีรีส์ 2533)
- ช่างมันฉันไม่แคร์ (2536)
- แผ่นดินของเรา (2539)
- ซอยปรารถนา 2500 (2541)
- ปีกทอง (2542)
- เริงมายา (2542)
- ลูกทาส (2544)
- คนเริงเมือง (2545)
- ทะเลฤๅอิ่ม (2546)
- สี่แผ่นดิน (2546)
- ในฝัน (2549)
- ศรีอโยธยา (2560)
ละครเวที
[แก้]- ALL MY SON (2517) [11] - แสดงที่หอประชุม A.U.A
- บัลเลต์พระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด” (2518) - แสดงที่โรงละครแห่งชาติ
- The Lower Depths (2517, 2518) [12] - แสดงที่โรงละครคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และโรงละครแห่งชาติ
- IMPROMPTU (2520) - แสดงที่สถาบันวัฒนธรรมเยอรมัน
- LES MALENTANDU (2524) [13] - แสดงที่หอประชุมคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- เทพธิดาบาร์ 21 (2529) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
- ONE FLEW OVER THE CUCKOO’S NEST (2530) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
- ผู้แพ้ผู้ชนะ (2532) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
- พรายน้ำ (2533) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
- ราโชมอน (2534) - แสดงที่โรงละครมณเทียรทอง
- ปรัชญาชีวิต (2531-2533) - แสดงที่ตึกร้าง บ.แปลนอคิวเท็ก, เชียงใหม่ สปอร์ตคลับ, ม.ขอนแก่น
- พระผู้เป็นดวงใจ ของโรงเรียนสวนจิตรลดา (2529) - แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ
- แฮมเล็ต เดอะ มิวสิเคิล (2538) - แสดงที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- รางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2552 - คนเบื้องหลังแห่งปี
- เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2553 - สาขางานกำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ไทย)
- ท็อปอวอร์ด ครั้งที่ 11 ประจำปี พ.ศ. 2554 - ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (จันดารา ปฐมบท)
- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 30 ประจำปี พ.ศ. 2564 - รางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ (Lifetime Achievement Award)[14] (รางวัลหลังจากการถึงแก่กรรม)
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ฉลองวันเกิดครบ 67 ปี “หม่อมน้อย” โดยมี "แพนเค้ก-แต้ว" นำทีมลูกศิษย์อวยพรสุดอบอุ่น
- ↑ หนึ่งเดียว. พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับ "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ป็อปคอร์น, พ.ศ. 2549. หน้า 328. ISBN 974-94228-8-0
- ↑ สิ้น “หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล” หรือ “หม่อมน้อย” ในวัย 68 ปี
- ↑ 6 (2022-09-16). "เผยเหตุเสียชีวิต ไอจีหม่อมน้อย เคลื่อนไหวหลังสิ้น กล่าวถึงนักแสดงที่ดี". ข่าวสด.
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ ช็อกวงการ "หม่อมน้อย" เสียชีวิตแล้ว
- ↑ matichon (2022-09-16). "สวดพระอภิธรรม 'หม่อมน้อย-ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล' ณ วัดเทพศิรินทร์". มติชนออนไลน์.
- ↑ matichon (2022-09-24). "กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพหม่อมน้อย ณ วัดเทพศิรินทราวาส". มติชนออนไลน์.
- ↑ "กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ พระราชทานเพลิงฯ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย)". www.thairath.co.th. 2022-09-24.
- ↑ ดัดแปลงจากบทละครเรื่อง The Seagull ของ อันตัน เชคอฟ (Anton Chekhov) ปี ค.ศ. 1896
- ↑ ดัดแปลงจากบทละครเวทีเรื่อง ราโชมอน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
- ↑ สร้างจากบทละครเวทีของ ARTHER MILLER ในปี ค.ศ. 1947
- ↑ สร้างจากบทละครเวทีของ Maxim Gorky ในปี ค.ศ. 1901
- ↑ สร้างจากบทประพันธ์ของ ELBERT CARMU
- ↑ "เปิดโผรายชื่อผู้เข้าชิง "สุพรรณหงส์ครั้งที่ 30...30 ยังแจ๋ว" เพิ่มรางวัล "ภาพยนตร์ไทยยอดนิยม" ให้คนไทยมีส่วนร่วมวงการหนัง". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-09-11. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติจาก หนังดี.คอม
- ประวัติ จาก The Complete Index to World Films เก็บถาวร 2007-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน citwf.com